หน้าแรก
การตรวจและวินิจฉัยแร่
  คุณสมบัติทางฟิสิกส์
   -สี
   -รูปผลึก
   -แนวแตกเรียบ(คลีเวจ)
   -ความวาว
   -ความแข็ง
   -ความเหนียว
   -คุณสมบัติเกี่ยวกับแม่เหล็ก
   -ความถ่วงจำเพาะ
 คุณสมบัติทางเคมี
   -การตรวจปฏิกิริยากับกรด
   -การตรวจการละลายในกรด
   -การตรวจด้วยเปลวไฟ
 คุณสมบัติเกี่ยวกับแสง
   -การให้แสงผ่าน
   -การเรืองแสง
สารบัญสวนหิน
ธนาคารภาพ
กระดานสนทนา

จุดประสงค์
คณะผู้จัดทำ

 

 

 

การตรวจด้วยเปลวไฟ

   นิยมใช้ต้นกำเนิดเปลวไฟที่ไม่มีสีเป็นดีที่สุด เช่น เปลวจากตะเกียงแอลกอฮอล์ หรือจากก๊าซจุดไฟที่จัดไฟ
ให้ปราศจากสีที่สุด
เปลวจากการเป่าแล่น
   ส่วนของเปลวยังแบ่งได้เป็นส่วนที่เป็นเปลวไฟบดออกซิเจนและเปลวไฟเพิ่ม
ออกซิเจนซึ่งมีประโยชน์มากในการช่วยตรวจแร่ทางเคมี
ท่อเป่าแล่น ( Blow Pipe )
    ท่อเป่าแล่นใช้เพื่อทำให้เปลวไฟมีกำลังร้อนแรงประมาณ 120 – 1,500 องศาเซลเซียส ในการที่จะพ่นสู่
เศษชิ้นแร่หรือผงแร่ ท่อเป่าแล่นง่ายๆ เป็นท่อทองเหลืองยาวประมาณ 9 นิ้ว ปลายข้างหนึ่งโค้ง ใช้ร่วมกับ
ตะเกียวบุนเซน ตะเกียงแอลกอฮอล์ ปลายท่อจ่อเข้าไปให้ใกล้หรือเข้าไปที่เปลวไฟ การเป่านั้นต้องสม่ำเสมอ
ด้วย ถ้าไม่สม่ำเสมอกำลังแรงของเปลวไฟจะไม่สม่ำเสมอ ท่อเป่าแล่นสมัยใหม่หาได้ง่าย ใช้ความกดดันจาก
ก๊าซในถังเพียงน้อยก็สามารถทำให้เปลวไฟพุ่งแรงได้
เปลวไฟลดออกซิเจน ( Reducing Flame )
    การเผาไหม้อย่างแรงจะเกิดอยู่ตรงส่วนสีน้ำเงินของเปลวไฟ ซึ่งเรียกว่า เปลวไฟลดออกซิเจน
( Reducking Flame ) นำชิ้นแร่ไปจ่อตรงปลายนอกของเปลวไฟสีน้ำเงินขณะเสียออกซิเจนไปในการเผาไหม้
เรียกว่า ถูกลดออกซิเจน
เปลวไฟเพิ่มออกซิเจน ( Oxidizing Flame )
    ส่วนนอกกรวยความร้อนซึ่งเกือบจะมองไม่เห็นเป็นเปลวไฟเพิ่มออกซิเจน ชิ้นแร่จ่อตรงส่วนนี้จะมีปฏิกิริยา
อย่างง่ายดายกับออกซิเจนเพราะอุณหภูมิสูงขึ้น
การตรวจดูสีของเปลวไฟ ( Flame Test )
    ธาตุบางชนิดเมื่อนำไปเผากับเปลวไฟที่พุ่งแรง หรือเปลวไฟจากตะเกียงบุนเซน จะทำให้เปลวไฟมีสีผิดไป
สีของเปลวไฟที่เห็นนั้น จะเป็นเครื่องบ่งบอกว่าเป็นธาตุอะไร

 

 

 


© 2025 Assumption Samutprakarn School. All Right Reserved.
Website by ACSP Website Team