< :: ส ว น หิ น :: แหล่งการเรียนรู้ทางธรณีวิทยา โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ

หน้าแรก
การตรวจและวินิจฉัยแร่
สารบัญสวนหิน
ธนาคารภาพ
กระดานสนทนา

จุดประสงค์
คณะผู้จัดทำ

 

 

 

หินสบู่ Soapstone

ชื่อแร่:
  เข้าใจว่ามาจากภาษาอาหรับ talk
คูณสมบัติทางฟิสิกส์:
  รูปผลึกระบบโมโนคลินิก ลักษณะของผลึกเป็นแผ่นหนารูปสี่เหลี่ยแนวแตกเรียบสมบูรณ์ ลักษณะเป็นแผ่นบางๆ
จะโค้งงอได้แต่กลับไม่ได้ ใช้มีดตัดเป็นชิ้นได้เพราะแข็ง 1 ขีด บนผ้าได้ ถ.พ. 2.7-2.8 วาวแบบมุกและแบบน้ำมัน
อาบสีเขียนวแอปเปิ้ล เทา ขาว หรือสีเงิน สำหรับหินสบู่ (Soapstone) จะมีสีเทาแก่หรือสีเขียว ลื่นมือ
ลักษณะเด่นและวิธีตรวจ:
  ดูจากลักษณะที่เป็นแผ่นบางคล้ายไมกา แนวแตกเรียบ อ่อนจนเล็บขูดเข้าและมือลื่น ตรวจดูคุณสมบัติทางเคมี
การกำเนิด:
  เป็นแร่ทุติยภูมิ (secondary mineral) ซึ่งเกิดจากการผุสลายแปรสภาพ (alteration) ของแมกนีเซียมซิลิเกต
เช่น โอลิวีน ไพรอกซีน และ แอมพิโบล เป็นลักษณะของหินแปรเกรดนต่ำ ถ้ามีเนื้อสมานแน่น (massive) เรียก
หินสบู่ (soapstone) ซึ่งมักจะเกิดเป็นมวลหินเกือบทั้งหมด อาจพบเกิดเป็นส่วนประกอบของหินแปรพวกชีสต์ เช่น
หินทัลก์ชีสต์
แหล่ง:
  ในประเทศไทย พบอยู่ในหินแปรพวกหินชีสต์ทั่วๆไป
  ต่างประเทศ พบตามเทือกเขาอัปปาเลเชียน หินสบู่พบที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา
ประโยชน์:
  ทำสวิตช์ไฟ เครื่องสุขภัณฑ์ ทำโต๊ะในห้องทดลอง ส่วนมากทัลก์และหินสบู่ป่นเป็นผงใช้ทำสี เครื่องปั้นดินเผา
ยาง ยาฆ่าแมลง กระเบื้องมุงหลังคา กระดาษแป้งฝุ่นทาหน้า ฯลฯ แผ่นหินสบู่หรือทัลก์นี้ใช้ทำ Table-top ทำดินสอ
สำหรับขีดเสื้อผ้าและโลหะ


   สารบัญ   

 


© 2024 Assumption Samutprakarn School. All Right Reserved.
Website by ACSP Website Team