< :: ส ว น หิ น :: แหล่งการเรียนรู้ทางธรณีวิทยา โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ

หน้าแรก
การตรวจและวินิจฉัยแร่
สารบัญสวนหิน
ธนาคารภาพ
กระดานสนทนา

จุดประสงค์
คณะผู้จัดทำ

 

 

 

หินดินดาน (Shale)

ประเภท:
  หินตะกอน

ลักษณะ:
  เนื้อละเอียดมากเหมือนดินเหนียว  มักจะมีรอยชั้นบาง ๆ เมื่อบิดจะแตกตัวตามรอยชั้น  มักจะพบว่ามีซาก
ดึกดำบรรพ์อยู่ด้วย  มีสีต่างกัน เช่น แดง น้ำตาล เหลือง เทา เขียว และดำ

กระบวนการผลิต:
  หินที่เกิดจากอนุภาคที่มาจับตัวเป็นก้อนแข็ง ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 1/256 มม.

องค์ประกอบ:
  ประกอบด้วยแร่ควอร์ตซ์  ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่ามอนต์มอร์ลโลไนต์  ดินเหนียว และไมกา

บริเวณที่พบ:
  เกือบทุกจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย แต่ที่เป็นแหล่งใหญ่ก็คือ บริเวณ จังหวัดสระบุรี อยุธยา
ลพบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี นอกจากนี้ยังพบที่เลย สงขลา ยะลา นครศรีธรรมราช ฯลฯ


ประโยชน์:
  เป็นวัสดุผสมใช้ทำซีเมนต์ บางทีก็นำมาปูถนนแต่หักง่ายเพราะความเชื่อมแน่นของหินต่ำ และยังนำมาทำเป็นหิน
ประดับได้ด้วย


   สารบัญ   

 


© 2024 Assumption Samutprakarn School. All Right Reserved.
Website by ACSP Website Team