< :: ส ว น หิ น :: แหล่งการเรียนรู้ทางธรณีวิทยา โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ

หน้าแรก
การตรวจและวินิจฉัยแร่
สารบัญสวนหิน
ธนาคารภาพ
กระดานสนทนา

จุดประสงค์
คณะผู้จัดทำ

 

 

 

เซอร์เพนทิไนท์

คุณสมบัติทางฟิสิกส์:
  รูปผลึกระบบโมโนคลินิก ลักษณะของผลึกมี 2 แบบ คือ แบบที่มีลักษณะเป็นแผ่น เรียกว่า แอนทิโกไรต์
(Antigorite) และ แบที่เป็นเส้นใย เรียกว่า คริโซไทล์ (chrysotile) เนื้อเหนียว นอกจากพวกเส้นใยจะแยกออกได้
ตามแนวเส้น แข็ง 2-5 แข็งปกติประมาณ 4 ชนิดที่เป็นเส้นใย ถ.พ. 2.2 และชนิดที่เป็นแผ่นจะมีค่า ถ.พ.2.65 วาว
แบบน้ำมันฉาบ แอนทิโกไรต์ วาวแบบขี้ผึ้ง จับดูคล้ายขี้ผึ้งเช่นกัน และ คริโซไทล์วาวแบบใยไหม สีมีตั้งแต่เขียว
อ่อนจนถึงเขียวแก่โปร่งแสง
ลักษณะเด่นและวิธีตรวจ:
  ดูจากสีและความวาวคล้ายขี้ผึ้ง หรือดูจากลักษณะที่เป็นเส้นใยต่างจากแอมฟิโบลชนิดที่เป็นเส้นใยตรงที่มี
โมเลกุลของน้ำอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก ไม่หลอมตัวผุสลายในกรดเกลือแต่ไม่มีวุ้น
การกำเนิด:
  พบโดยทั่วไป เกิดจากการเปลี่ยนแปรสภาพ (alteration) ของแร่แมกนีเซียมซิลิเกต โดยเฉพาะพวกโอลิวีน
ไพรอกซีน และแอมฟิโบล มักจะเกิดร่วมกับแมกนีไซต์โครไมต์และแมกนีไทต์ พบทั้งในหินอัคนีและหินแปร
ถ้าปกติกล่าวถึงเซอร์เพนทีนจะหมายถึงแร่ชนิดที่มีลักษณะเป็นแผ่นคือ แอนทิโกไรต์นั่นเอง
แหล่งที่พบ:
  ในประเทศไทย พบที่ จ.เชียงใหม่ ลำพูน อุตรดิษฐ์ ปราจีนบุรี จันทบุรีและนราธิวาส สำหรับใยหินหรือปุยศิลา
(Asbestos) ที่ จ.อุตรดิษฐ์นั้นเป็นชนิดคริโซไทล์ เส้นใยสั้นๆและยุ่ยไม่เหนียว ใช้ประโยชน์ได้เพียงมาทำ
กระเบื้อง กระดาษทนไฟ และใช้พอกหุ้มท่อไอน้ำกันความร้อน
ประโยชน์:
  คริโซไทล์เป็นตัวสำคัญที่จะให้แอสเบสทอส ซึ่งใช้ทำวัสดุทนไฟ คุณสมบัติของแร่ที่จะนำมาใช้ทำวัสดุทนไฟ
จะต้องเป็นเส้นใย งอโค้งได้ ส่วนแอนทิโกไรต์ซึ่งโปร่งแสงและมีสีเขียวทั้งอ่อนและแก่ ใช้ทำหินประดับ
แกะสลักเป็นรูปลักษณะต่างๆได้


   สารบัญ   

 


© 2024 Assumption Samutprakarn School. All Right Reserved.
Website by ACSP Website Team