< :: ส ว น หิ น :: แหล่งการเรียนรู้ทางธรณีวิทยา โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ

หน้าแรก
การตรวจและวินิจฉัยแร่
สารบัญสวนหิน
ธนาคารภาพ
กระดานสนทนา

จุดประสงค์
คณะผู้จัดทำ

 

 

 

แร่ยิปซัม

   ยิปซัม เป็นแร่ที่ตกตะกอนในแอ่งที่มีการระเหยของน้ำสูงมากและต่อเนื่อง ทำให้น้ำส่วนที่เหลือมีควมเข้มข้นสูง
ขึ้น ถึงจุดที่แร่กลุ่มที่เรียกว่า “อีแวพอไรด์” (evaporites) จะสามารถตกตะกอนออกมาตามลำดับคามสามารถใน
การละลาย ซึ่งโดยทั่วไปเริ่มจากคาร์บอเนต ซัลเฟต และเฮไลด์

การกำนิด
    แร่ยิปซัมของไทยมีเนื้อเป็นเกล็ดเล็กๆ สมานแน่นเรียกว่า “อะลาบาสเตอร์ (Alabaster)” ซึ่งมิได้เกิดจากการ
ตกตะกอนทับถมกันในสภาพการณ์ปฐมภูมิจากการระเหยของน้ำ แต่เกิดจากการเติมน้ำ (rehydration) ให้กับช่วง
บนสุดของมวลแอนไฮไดร์ จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ชนิดแร่ยิปซัมในประเทศไทยมีประวัติที่ค่อนข้างซับซ้อน
แต่การศึกษาธรณีวิทยาพบว่า เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงชนิดแร่ไปมา ระหว่างยิปซัมกับแอนไฮไดรต์หลายครั้ง
ก่อนจะมีสภาพเช่นปัจจุบัน

แหล่งในประเทศ
    1. บริเวณเขตติดต่อของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ กับอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีเหมืองเปิด
ทำการอยู่รวม 9 เหมือง
    2. บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเหมืองเปิดทำการ 12 เมือง
    3. จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเหมืองเปิดทำการ 9 เหมือง

การใช้ประโยชน์
    นอกเหนือจากการผลิตปูนซีเมนต์ยิปซัมยังใช้ทำแผ่นฝ้าเพดานกันความร้อนและทำปูนปลาสเตอร์สำหรับทำ
แม่พิมพ์เซรามิก และงานตกแต่งภายในอาคารอีกหลายอย่าง


   สารบัญ   

 


© 2024 Assumption Samutprakarn School. All Right Reserved.
Website by ACSP Website Team