< :: ส ว น หิ น :: แหล่งการเรียนรู้ทางธรณีวิทยา โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ

หน้าแรก
การตรวจและวินิจฉัยแร่
สารบัญสวนหิน
ธนาคารภาพ
กระดานสนทนา

จุดประสงค์
คณะผู้จัดทำ

 

 

 

โดโลไมต์

   โดโลไมต์ (Dolomite) เป็นแร่หรือหินตะกอนที่ประกอบด้วยแคลเซียมแมกนีเซียมคาร์บอเนต เป็นส่วนใหญ่
ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับหินปูน จะต่างกันเล็กน้อยตรงที่โดโลไมต์ไม่ทำปฏิกิริยากับกรดเจือจางรุนแรงนัก เนื้อ
หินมักจะมีรอยแตกขนาดเล็กค่อนข้างมาก ทำให้ผิวนอกขรุขระ โดโลไมต์จะหนักกว่าและแข็งกว่าหินปูนเล็กน้อย
มีหลายสีเช่น สีขาว เทาและเทาเข้ม

การกำเนิด
    การกำเนิดของแร่โดโลไมต์ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ อย่างไรก็ตาม ค่อนข้างแน่ชัดว่า โดโลไมต์ส่วนใหญ่เกิด
จากกระบวนการทุติยภูมิที่ทำให้อนุมูลแมกนีเซียมสามารถเข้าไปแทนที่อนุมูลแคลเซียมในโครงสร้างแร่เดิมได้
ซึ่งหลายๆกรณีสภาพการณ์เช่นนี้ มักเกี่ยวข้องกับการเกิดแร่ในกลุ่มของอีแวพอไรต์ (evaporites) เช่น ยิปซัมและ
เกลือหิน ในประเทศไทยมักเกิดอยู่ใกล้เคียงกับเขาหินปูน เกิดเป็นชั้นหินปูนโดโลไมต์ (dolomitic limestone)
หรือพบเป็นเกิดเพื่อนแร่ในสายแร่ตะกั่วหรือสารแร่สังกะสีที่ตัดผ่านหินปูน

แหล่งในประเทศไทย
    แหล่งโดโลไมต์อยู่บริเวณเขตติดต่อระหว่างอำเภอเมืองและท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอดอนสัก จังหวัด
สุราษฎร์ธานี และอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่อื่นๆได้แก่ จังหวัดแพร่ ชลบุรี จันทบุรีและสงขลา

ประโยชน์
    โดโลไมต์เป็นสินแร่หลักของโลหะแมกนีเซียม ใช้ทำแมกนีเซียมซึ่งเป็นวัสดุทนไฟสำหรับการบุเตาถลุงเหล็ก
ใช้ทำปูนซีเมนต์บางชนิด และใช้ในอุตสาหกรรมแก้วและกระจก นอกจากนี้ยังใช้เป็นหินก่อสร้างหรือหินประดับได้
อีกด้วย การใช้โดโลไมต์ผสมในเนื้อดินในงานเซรามิกมีจุดประสงค์เพื่อลดจุดหลอมตัวของวัตถุดิบ แต่โดยทั่วไป
มักใช้ในปริมาณน้อย และมักใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาเคลือบมากกว่าในเนื้อดิน


   สารบัญ   

 


© 2024 Assumption Samutprakarn School. All Right Reserved.
Website by ACSP Website Team