< :: ส ว น หิ น :: แหล่งการเรียนรู้ทางธรณีวิทยา โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ

หน้าแรก
การตรวจและวินิจฉัยแร่
สารบัญสวนหิน
ธนาคารภาพ
กระดานสนทนา

จุดประสงค์
คณะผู้จัดทำ

 

 

 

หินบะซอลต์(ฺBasalt)

ประเภท:
  อัคนีพุ
ลักษณะ:
  มีเนื้อละเอียด สีเข้ม หรือเทาแก่ถึงดำ น้ำตาลแก่ และหนัก ส่วนมากมีรูพรุน อายุของหินที่พบในประเทศไทยนับ
ว่ามีอายุใหม่มาก ประมาณ 2
10 ล้านปี  อยู่ในยุค Quaternary – Late Tertiary
กระบวนการเกิด:
  เกิดจากหินลาวาขึ้นมาเย็นตัวบนพื้นผิวโลก
องค์ประกอบ:
  แร่ที่สำคัญคือ แร่แพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ และแร่สีเข้มอื่น ๆ เช่น ไพรอกซีนละเอียดมาก เฟลด์สปาร์
ฮอร์นเเบลนด์ และโอลิวีน แต่ผลึกแร่เล็กละเอียดมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นและยังไม่ทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ

บริเวณที่พบ:
  พบมากที่ จังหวัดจันทบุรี ตราด กาญจนบุรี แพร่ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ เชียงราย และลำปาง เป็นหินที่พบว่า
เกิดพลอยพวก คอรันดัม เช่น ทับทิม ไพลิน

ประโยชน์:
   ใช้ในการก่อสร้าง แต่ไม่ค่อยดีนัก แต่ถ้าจำเป็นก็ใช้เป็นวัสดุสร้างทางได้ หินบะซอลต์ถ้าผุจะกลายเป็นดินที่ใช้
ประโยชน์ในการเพาะปลูก และยังเป็นหินประดับได้


   สารบัญ   

 


© 2024 Assumption Samutprakarn School. All Right Reserved.
Website by ACSP Website Team