< :: ส ว น หิ น :: แหล่งการเรียนรู้ทางธรณีวิทยา โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ

หน้าแรก
การตรวจและวินิจฉัยแร่
สารบัญสวนหิน
ธนาคารภาพ
กระดานสนทนา

จุดประสงค์
คณะผู้จัดทำ

 

 

 

แร่แบไรต์

   แร่แบไรต์ (barite) มีส่วนประกอบทางเคมีเป็นแบเรียมซัลเฟต สีขาวหรือเทาอ่อน เนื้อแร่โปร่งแสงถึงโปร่งใส
และมีน้ำหนักมากเนื่องจากค่าความถ่วงจำเพาะสูงประมาณ 4.5 เมื่อคะเนด้วยมือจะรู้สึกหนักผิดปกติต่างไปจากแร่
ชนิดอื่นๆ ที่มีขนาดเท่ากัน

การกำเนิด
    แร่แบไรต์ในประเทศไทย พบเกิดสายแร่แทรกในบริเวณที่มีรอยแตกหรือรอยเลื่อน โดยมีความสัมพันธ์กับหิน
แกรนิตยุคคาร์บอนิเฟอรัสและไทรแอสติก ซึ่งพบมากทางภาคตะวันตกของประเทศ นอกจากนี้ยังพบแร่แบไรต์
เกิดร่วมกับแร่ตะกั่วและสังกะสีในหินปูนหินดินดานและหินทราย ในบริเวณภาคเหนือและภาคกลาง

แหล่งในประเทศ
    แร่แบไรต์พบที่จังหวัด เลย เพชรบูรณ์ อุดรธานี เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ แม่ฮ่องสอน ตาก
นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กาญจนบุรี เพชรบุรี อุทัยธานี และราชบุรี

ประโยชน์
    ส่วนใหญ่ทำเป็นโคลนผลใช้ในการเจาะสำรวจแหล่งแร่และปิโตเลียม โดยเป็นตัวควบคุมความดันในการเจาะ
นอกจากนั้นยังใช้ทำสารเคมีแบเรียมต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม เช่น แบเรียมซัลเฟตใช้ทำสี
ในอุตสาหกรรมกระดาษ ยาง และพรมน้ำมัน แบบเรียมคลอไรด์ใช้ในโรงงานทำหนัง เสื้อผ้า แบเรียมคาร์บอเนต
ใช้เป็นส่วนผสม การเคลือบเงาเซรามิก แบเรียมออกไซด์ใช้ในการทำแก้วและการถลุงด้วยไฟฟ้า
แบเรียมไฮดรอกไซด์ใช้ผลิตน้ำตาล และใช้ผสมทำคอนกรีตสำหรับพอกท่อส่งน้ำมันและแก๊สใต้ทะเล นอกจากนี้
ยังทำมาบดทำยาสำหรับรับประทานก่อนที่จะทำการฉายเอกซเรย์ที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้อีกด้วย


   สารบัญ   

 


© 2024 Assumption Samutprakarn School. All Right Reserved.
Website by ACSP Website Team